วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความโครงงานปัญหาพิเศษ

การสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)
ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
นายอลงกรณ์   ไชยทิพย์



บทคัดย่อ

         การทำโครงงานปัญหาพิเศษครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80   
(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชางานเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางานเครื่องมือกล วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  2..กลุ่ม จำนวน 20.คน โดยห้องหนึ่งใช้เป็นกลุ่มทดลอง และอีกห้องหนึ่งใช้เป็นกลุ่มควบคุม  เครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงงานปัญหาพิเศษ ได้แก่ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอน  แบบประเมินผลของผู้เชี่ยวชาญ  แบบทดสอบก่อนเรียน  แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย T-test
       ผลการวิจัยพบว่า สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 80.65/82.32 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

นิยามศัพท์เฉพาะ
  วิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.  บทนำ
        ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญสำหรับการออกแบบงานและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและกลายเป็นสิ่งสำคัญในทุกๆ สาขางาน เช่น ด้านอุตสาหกรรมและการศึกษา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องผลิตนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบในด้านอุตสาหกรรม นักเรียนจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะเพิ่มพูนทักษะของตนจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนเพิ่มมากยิ่งๆ ขึ้นไป
        ดังนั้นโครงงานปัญหาพิเศษนี้ได้มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอน

2.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์มีงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องและนำมาใช้ดังนี้
        2.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
        2.2 หลักการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
        2.3 โปรแกรม AutoCAD 2007
        2.4 โปรแกรม Desktop Author 4
        2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
        ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ได้ศึกษาตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
        3.1 วัตถุประสงค์การศึกษา
        3.2 กลุ่มตัวอย่าง
        3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
   3.1.1 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
   3.1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียน 2 กลุ่ม กลุ่มที่เรียนด้วยสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนปกติ
   3.1.3 เพื่อใช้เป็นสื่อช่วยสอน
   3.1.4 เพื่อกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในบทเรียน
   3.1.5 เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาการเรียนการสอน              
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
   กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนจำนวน 20 คน เลือกแบบเจาะจง และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 6 คน
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีดังนี้
   3.3.1 สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอน
   3.3.2 แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน
   3.3.3 แบบสอบถาม
   3.3.4 แบบประเมิน
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
   ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญถูกนำมารวบรวมและวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติดังนี้
   3.4.1 ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญได้นำมาวิเคราะห์ในด้านการออกแบบสื่อ เนื้อหา ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ความพึงพอใจของผู้ใช้ คุณภาพที่นำมาใช้ในแบบประเมินใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้
        5   =   ดีมาก
        4   =   ดี
        3   =   ปานกลาง
        2   =   ปรับปรุง
        1   =   ใช้ไม่ได้
 
        สามารถสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของการสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในวิชาการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับดี
3.4.2 สถิติที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.4.3 ผลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน แสดงว่ามีการพัฒนาในด้านการเรียนของนักเรียน

การวิเคราะห์ข้อมูลแลการแสดงผล  
        ค่าเฉลี่ย ( ) หาได้โดยการคำนวณโดยใช้สูตรดังนี้
               

เมื่อ               =    ค่าเฉลี่ย
             åX    =    ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด
N    =    จำนวนข้อมูลทั้งหมด

        ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้สูตรดังนี้
               
                S.D        =             

เมื่อ          S.D         =   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  X           =   ข้อมูลแต่ละจำนวน
                            =   ค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ละจำนวน
                  N          =   จำนวนข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง